Skip to main content

ประวัติความเป็นมา

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คณะศิลปศาสตร์ เป็นคณะหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา(เล่มที่ 122 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548) การจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยนราธิวาส        ราชนครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้นักศึกษาในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ใกล้เคียงได้มีโอกาสศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี และเพื่อสนับสนุนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปให้แก่คณะต่างๆ ในระยะเริ่มแรก โดยแยกมาจากคณะวิชาพื้นฐานในเดิมก่อนหลอมรวมเป็นมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 โดยใช้อาคารแผนกช่างก่อสร้าง ชั้น 1 ของวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาเขตโคกเขือ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นที่ตั้งโครงการชั่วคราวของคณะและต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาที่ชั้น 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2553 และได้ย้ายที่ทำการมายังคณะศิลปศาสตร์ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เปิดจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มรายวิชาภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษามลายู และภาษาจีน กลุ่มรายวิชาสาขาสังคมศาสตร์ และกลุ่มรายวิชาสาขาพลศึกษา รวมทั้งสิ้น 40 รายวิชา ให้แก่คณะต่างๆ จำนวน 7 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา และ ในปีการศึกษา 2558 ได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ รุ่นที่ 1 มีจำนวนนักศึกษาแรกเข้าจำนวน 96 คน ในปีการศึกษา 2559 รุ่นที่ 2 มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 89 คน  ในระหว่างนั้น คณะได้จัดทำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาภาษามลายู) ขึ้น ปีการศึกษา 2560 ได้เปิดรับนักศึกษา รุ่นที่ 1  มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 39 คน นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ รุ่นที่ 3  มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 97  คน ปีการศึกษา 2561 นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ รุ่นที่ 4 มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 83 คน และนักศึกษาสาขาวิชาภาษามลายู รุ่นที่ 2 มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 23 คน สำหรับปีการศึกษา 2562 นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ รุ่นที่ 5 มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 102 คน  และนักศึกษาสาขาวิชาภาษามลายู รุ่นที่ 3 มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 16 คน ปีการศึกษา 2563 นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ รุ่นที่ 6 มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 97 คน และนักศึกษาสาขาวิชาภาษามลายู รุ่นที่ 4            มีนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 23 คน และปีการศึกษา 2564 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ รุ่นที่ 7 นักศึกษาแรกเข้า จำนวน 70 คน

คณะมีอาจารย์ ทั้งที่เป็นข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างชั่วคราว โดยบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 38 คน ประกอบด้วย  ผู้ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก จำนวน 6 คน คุณวุฒิปริญญาโท จำนวน 28 คน และคุณวุฒิปริญญาตรี จำนวน 4 คน ในจำนวนนี้มีผู้มีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 คน และมีบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 18 คน แบ่งเป็นคุณวุฒิปริญญาโท จำนวน 2 คน ปริญญาตรี จำนวน 12 คน ระดับอนุปริญญา จำนวน 1 คน มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน (ข้อมูลบุคลากร ณ วันที่ 19 มกราคม 2565)

ปรัชญา

บัณฑิตมีความรู้ ปัญญาแสวงหา พัฒนาองค์ความรู้เพื่อความเจริญงอกงามของสังคม

วิสัยทัศน์

สถาบันแห่งการพัฒนาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรม มุ่งสู่มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
  2. ผลิตผลงานวิชาการงานสร้างสรรค์และงานวิจัย
  3. บริการวิชาการเพื่อพัฒนาสังคม
  4. ส่งเสริมและอนุรักษ์ ภาษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ

อัตลักษณ์

บัณฑิตมีความเป็นพหุวัฒนธรรม

เอกลักษณ์

เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรม

ค่านิยมองค์กร

A: Activeness –  ความว่องไวและกระตือรือร้นในการทำงาน

R: Relationship –  ความมีสัมพันธภาพที่ดี

T: Timely –  ความตรงต่อเวลา

S: Sustainability –  ความยั่งยืน

ARTS: พี่น้องอุณากรรณ ว่องไว ตรงเวลา สร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน

นิยามศัพท์

พหุวัฒนธรรม หมายถึง การอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกท่ามกลางความหลากหลายทาง ภาษา ศาสนา และ

ศิลปวัฒนธรรม

นโยบาย

  1. นโยบายด้านการจัดการเรียนการสอน : ส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ โดยใช้กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกในการบริหารจัดการ
  2. นโยบายด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ :ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรดำเนินการวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้  ตลอดจนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และนำไปใช้ประโยชน์
  3. นโยบายด้านการบริการวิชาการสู่สังคม: พัฒนาส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมบริการวิชาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
  4. นโยบายด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม: ส่งเสริมอนุรักษ์ภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
  5. นโยบายด้านการบริหารจัดการ: ให้ความสำคัญกับการจัดระบบการบริหารจัดการที่ดีด้วย   หลักธรรมาภิบาล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะและคุณธรรม รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  2. เพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่สนองความต้องการของสังคม
  3. เพื่อบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสังคม
  4. เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ ภาษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
  5. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธผล
  6. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ นำไปใช้ในด้านการเรียนการสอนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพทางด้านวิชาชีพและนวัตกรรม
  2. ผลิตผลงานวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ
  3. บริการวิชาการ ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  4. ส่งเสริมภาษา ทำนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
  5. พัฒนาการบริหารจัดการสู่องค์กรชั้นนำโดยเน้นประสิทธิภาพและความยั่งยืน

ตราสัญลักษณ์